วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 8 : Review/แนะนำการใช้งานโปรแกรม





Messenger


              Messenger เป็นโปรแกรมที่ใช้เพื่อคุยกับเพื่อนๆไม่เฉพาะใน Facebook ส่งข้อความไปถึงคนที่อยู่ในโทรศัพท์เพียงแค่เราป้อนหมายเลขโทรศัพท์เพื่อเพิ่มผู้ติดต่อ ข้อความทั้งหมดจาก Facebook ถูกย้ายมาไว้ใน Messenger หมด แล้วได้ถูกเก็บไว้


การคุยกับเพื่อนใน Messenger ยังมีสติ๊กเกอร์เพื่อเพิ่มสีสันในการคุยกัน


สามารถสร้างกลุ่มคุยกัน ตั้งรูปกลุ่ม ใส่รูปภาพ และเก็บทั้งหมดไว้ในที่เดียวกัน


มี Chat heads เวลามีคนทักมาขณะที่เรากำลังใช้ Application อื่นๆ


มีโทรฟรีโดยใช้อินเตอร์เน็ต คุยได้นานตามเท่าที่คุณต้องการ แม้คู่สนทนาจะอยู่คนละประเทศก็คุยได้

ก็ขอให้ทุกคนใช้ Messenger คุยกับเพื่อนกันให้สนุกครับ!!!

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 7 : คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์  คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย)จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบันเพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายจึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้นและลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่ายทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล,หน่วยความจำหน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่นเครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน
การเชื่อมโยงเครือข่าย
สื่อกลางการสื่อสารที่ใช้ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยสายเคเบิลไฟฟ้า, ใยแก้วนำแสง และคลื่นวิทยุ (เครือข่ายไร้สาย) ในโมเดล OSI สื่อเหล่านี้จะถูกกำหนดให้อยู่ในเลเยอร์ที่ 1 และที่ 2 หรือชั้นกายภาพและชั้นเชื่อมโยงข้อมูล
ครอบครัวของสื่อการสื่อสารที่ถูกพัฒนาอย่างกว้างขวางและถูกนำมาใช้ในเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เรียกว่า อีเธอร์เน็ต มาตรฐานของสื่อกลางและของโพรโทคอลที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายอีเธอร์เน็ตถูกกำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802. อีเธอร์เน็ตในโลกไซเบอร์มีทั้งเทคโนโลยีของ LAN แบบใช้สายและแบบไร้สาย อุปกรณ์ของ LAN แบบใช้สายจะส่งสัญญาณผ่านสื่อกลางที่เป็นสายเคเบิล อุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้คลื่นวิทยุหรือสัญญาณอินฟราเรดเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านสํญญาณ

เทคโนโลยีแบบใช้สาย

เทคโนโลยีแบบใช้สายต่อไปนี้เรียงลำดับตามความเร็วจากช้าไปเร็วอย่างหยาบๆ
สายคู่บิด เป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด สายคู่บิดประกอบด้วยกลุ่มของสายทองแดงหุ้มฉนวนที่มีการบิดเป็นคู่ๆ สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้ภายในบ้านทั่วไปประกอบด้วยสายทองแดงหุ้มฉนวนเพียงสองสายบิดเป็นคู่ สายเคเบิลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบบใช้สายอีเธอร์เน็ตตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802.3) จะเป็นสายคู่บิดจำนวน 4 คู่สายทองแดงที่สามารถใช้สำหรับการส่งทั้งเสียงและข้อมูล การใช้สายไฟสองเส้นบิดเป็นเกลียวจะช่วยลด crosstalk และการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างสายภายในเคเบิลชุดเดียวกัน ความเร็วในการส่งอยู่ในช่วง 2 ล้านบิตต่อวินาทีถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที สายคู่บิดมาในสองรูปแบบคือคู่บิดไม่มีต้วนำป้องกัน(การรบกวนจากการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก) (unshielded twisted pair หรือ UTP) และคู่บิดมีตัวนำป้องกัน (shielded twisted pair หรือ STP) แต่ละรูปแบบออกแบบมาหลายอัตราความเร็วในการใช้งานในสถานการณ์ต่างกัน
สายโคแอคเชียล ถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับระบบเคเบิลทีวี, ในอาคารสำนักงานและสถานที่ทำงานอื่นๆ ในเครือข่ายท้องถิ่น สายโคแอคประกอบด้วยลวดทองแดงหรืออะลูมิเนียมเส้นเดี่ยวที่ล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน (โดยปกติจะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นกับไดอิเล็กทริกคงที่สูง) และล้อมรอบทั้งหมดด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก ฉนวนไดอิเล็กทริกจะช่วยลดสัญญาณรบกวนและความผิดเพี้ยน ความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ในช่วง 200 ล้านบิตต่อวินาทีจนถึงมากกว่า 500 ล้านบิตต่อวินาที
ใยแก้วนำแสง เป็นแก้วไฟเบอร์ จะใช้พัลส์ของแสงในการส่งข้อมูล ข้อดีบางประการของเส้นใยแสงที่เหนือกว่าสายโลหะก็คือมีการสูญเสียในการส่งน้อยและมีอิสรภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีความเร็วในการส่งรวดเร็วมากถึงล้านล้านบิตต่อวินาที เราสามารถใช้ความยาวคลื่นที่แตกต่างของแสงที่จะเพิ่มจำนวนของข้อความที่ถูกส่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงพร้อมกันในเส้นเดียวกัน เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายไฟที่มีอยู่ในบ้าน (สายโคแอค, สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า) เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นความเร็วสูง (ถึง 1 Gb/s)





เทคโนโลยีไร้สาย

ไมโครเวฟบนผิวโลก - การสื่อสารไมโครเวฟบนผิวโลกจะใช้เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณจากสถานีบนผิวโลกที่มีลักษณะคล้ายจานดาวเทียม ไมโครเวฟภาคพื้นดินอยู่ในช่วงกิกะเฮิรตซ์ที่ต่ำ ซึ่งจำกัดการสื่อสารทั้งหมดด้วยเส้นสายตาเท่านั้น สถานีทวนสัญญาณมีระยะห่างประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์)
ดาวเทียมสื่อสาร - การสื่อสารดาวเทียมผ่านทางคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่ไม่ได้เบี่ยงเบนโดยชั้นบรรยากาศของโลก ดาวเทียมจะถูกส่งไปประจำการในอวกาศ ที่มักจะอยู่ในวงโคจร geosynchronous ที่ 35,400 กิโลเมตร (22,000 ไมล์) เหนือเส้นศูนย์สูตร ระบบการโคจรของโลกนี้มีความสามารถในการรับและถ่ายทอดสัญญาณเสียง, ข้อมูลและทีวี
ระบบเซลลูลาร์และ PCS ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารวิทยุหลายเทคโนโลยี ระบบแบ่งภูมิภาคที่ครอบคลุมออกเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลายพื้นที่ แต่ละพื้นที่มีเครื่องส่งหรืออุปกรณ์เสาอากาศถ่ายทอดสัญญาณวิทยุพลังงานต่ำเพื่อถ่ายทอดสัญญาณเรียกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งข้างหน้า
เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกันคือ Wifi
การสื่อสารอินฟราเรด สามารถส่งสัญญาณระยะทางสั้นๆมักไม่เกิน 10 เมตร ในหลายกรณีส่วนใหญ่ การส่งแสงจะใช้แบบเส้นสายตา ซึ่งจำกัดตำแหน่งการติดตั้งของอุปกรณ์การสื่อสาร
เครือข่ายทั่วโลก (global area network หรือ GAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการสนับสนุนการใช้งานมือถือข้ามหลายๆ LAN ไร้สาย หรือในพื้นที่ที่ดาวเทียมครอบคลุมถึง ฯลฯ ความท้าทายที่สำคัญในการสื่อสารเคลื่อนที่คือการส่งมอบการสื่อสารของผู้ใช้จากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ใน IEEE 802 การส่งมอบนี้เกี่ยวข้องกับความต่อเนื่องของ LAN ไร้สายบนผิวโลก .
ชนิดของเครือข่าย
  ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 6 แบบ ได้แก่
- เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้องหรือภายในอาคารเดียวกัน
- เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลอาจจะเป็นกิโลเมตรหรือหลายๆกิโลเมตร
- เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
- เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
- เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้
- เครือข่ายข้อมูล หรือ แซน (Storage area network : SAN) เป็นเครือข่ายหรือเครือข่ายย่อยความเร็วสูงวัตถุประสงค์เฉพาะที่เชื่อมต่อภายในกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดต่างกันด้วยแม่ข่ายข้อมูลสัมพันธ์กันบนคัวแทนเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ใช้

อุปกรณ์เครือข่าย
เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่ายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่ายที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่ายโดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูงและมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่าย
ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอบริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์หรือพูดง่ายๆก็คือ ไคลเอนต์เป็นคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตที่เหลือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่ายเพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
เนทเวิร์ค สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้นและทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้นอัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล
เราต์เตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ้ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่นและเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น
ขอบเขตเครือข่าย
เครือข่ายโดยทั่วไปถูกจัดการโดยองค์กรที่เป็นเจ้าของเครือข่ายองค์กรเอกชนอาจจะใช้รวมกันทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตและยังอาจจัดให้มีการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่มีเจ้าของเดียวและให้การเชื่อมต่อทั่วโลกแทบไม่จำกัด

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 6: วิเคราะห์ข้อสอบ O-net วิชาคอมพิวเตอร์ 5 ข้อ



วิเคราะห์ข้อสอบ O-net


1. โปรแกรมวินโดวส์เป็นซอฟต์แวร์ประเภทใด
       ก. ซอฟต์แวร์ระบบ
       ข. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
       ค. ซอฟต์แวร์สำเร็จ
       ง. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ

ตอบ ก. ซอฟต์แวร์ระบบ

วิเคราะห์ ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
                ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ
                ซอฟต์แวร์สำเร็จ คือ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ หน้าที่การทำงานของงซอฟต์แวร์ระบบ
                ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เฉพาะ คือ ซอฟต์แวรที่พัฒนาขึ้นมาโดยเหตุผลหลักคือ หน่วยงานหรือองค์กรไม่สามารถจัดหาซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพดีเพียงพอกับความต้องการ

2. ความละเอียดของจอภาพสามารถบอกได้ด้วยปัจจัยในข้อใด
       ก. CRT
       ข. Dot pitch
       ค. Refresh rate
       ง. Color quality

ตอบ ข. Dot pitch

วิเคราะห์ Dot pitch คือระยะห่างระหว่างพิกเซล หรือระยะห่างระหว่างจุดสี ถ้าระยะห่างน้อย ด็อดพิชมีขนาดเล็ก ภาพจะคมชัดยิ่งขึ้น โดยปกติความละเอียดจะอยู่ที่ประมาณ 0.25 mm ถึง 0.4 mm

3. ข้อใดคือซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
       ก. Word processing software
       ข. Spreadsheet software
       ค. Database management software
       ง. Presentation software

ตอบ ข. Spreading software

วิเคราะห์ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน(Spread software) คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ

4. ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
       ก. ระบบปฏิบัติการคอส
       ข. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
       ค. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์เวิร์ด
       ง. ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

ตอบ ค. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์เวิร์ด

วิเคราะห์ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์เวิร์ด คือ เป็นโปรแกรมประมวลคำเพื่อการค้า

5. ข้อใดคือ ฮาร์ดแวร์
       ก. เกมคอมพิวเตอร์
       ข. เมาส์
       ค. แป้นพิมพ์
       ง. ถูกทั้ง ข และ ค

ตอบ ง. ถูกทั้ง ข และ ค

วิเคาระห์ ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้

ขอบคุณสำหรับข้อมูล : http://pudpudtan.blogspot.com/2014/12/blog-post_78.html

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 5:เรื่องที่นักเรียนสนใจ(2)

คอนแทคเลนส์



                           เชื่อว่าเพื่อนๆทุกคนรู้จักเจ้าสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ใสๆ บางๆ ที่ใช้แปะกับลูกตาเราที่เรียกว่า คอนแทคเลนส์ ดังที่ชื่อของมันบอกอยู่นั่นเองว่าคอนแทค (contact) แปลว่าสัมผัส ส่วนคำว่า เลนส์ (lens) แปลว่าอุปกรณ์ที่เบี่ยงเบนรังสี (โดยทั่วไปหมายถึงรังสีของแสงที่ตามองเห็นได้แต่จริงๆ แล้วหมายรวมถึงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ ที่ตามองไม่เห็น) ดังนั้นเจ้าคอนแทคเลนส์ ก็คืออุปกรณ์ทางแสงที่ทำหน้าที่ปรับแก้สายตาของผู้ใส่โดยจะต้องใส่แบบสัมผัสไว้ที่ลูกตาเลย

                           คอนแทคเลนส์มักจะทำจากแผ่นพลาสติกชนิดพิเศษตัดเป็นรูปวงกลมที่มีลักษณะบางมีความโค้งจำเพาะโดยพลาสติกนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ใส่วางบนกระจกตาหรือตาดำได้โดยปลอดภัยโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือใส่เพื่อแก้ไขสายตาที่ผิดปกติไม่ว่าจะสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง เช่นเดียวกันกับการใช้แว่นตานอกจากนี้คอนแทคเลนส์ยังอาจมีประโยชน์ในการใช้รักษาโรคของกระจกตาหรือโรคของผิวหน้าดวงตาบางชนิดได้อีกด้วย
                           ปัจจุบันคอนแทคเลนส์ที่ใช้เพื่อแก้ไขสายตา อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามวัสดุที่ใช้ในการทำคอนแทคเลนส์ ได้แก่

1. คอนแทคเลนส์แบบกึ่งนิ่มกึ่งแข็ง
                           บางทีเราเรียกคอนแทคเลนส์ชนิดนี้ว่า RGP ซึ่งย่อมาจากคำว่า Rigid Gas Permeable lens คอนแทคเลนส์ชนิดนี้จะค่อนข้างอยู่ตัว ทำจากวัสดุพลาสติกชนิดพิเศษที่อากาศสามารถซึมผ่านตัวเลนส์ ไปสู่กระจกตาได้ในปริมาณสูง

2. คอนแทคเลนส์แบบนิ่ม
                           คอนแทคเลนส์ชนิดนี้ก็คือ Soft lens หรือคอนแทคเลนส์แบบนิ่มนั่นเองเป็นคอนแทคเลนส์ที่ทำจากวัสดุพลาสติกพิเศษอีกชนิดหนึ่งที่จะสามารถอุ้มน้ำสูงกว่าชนิด RGP ทำให้ตัวเลนส์มีความนิ่มและยืดหยุ่นมากกว่าใส่สบายกว่าและยังคงมีการซึมผ่านของอากาศผ่านตัวเลนส์ไปยังกระจกตาได้ในปริมาณที่มากพอ

                           คอนแทคเลนส์แบบนิ่มนี้สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยๆตามคุณสมบัติในการแก้ไขสายตาได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ใช้ในการแก้ไขสายตาสั้นหรือสายตายาวที่เป็นตั้งแต่เด็ก ชนิดที่ใช้แก้ไขสายตาเอียง และชนิดที่ใช้เพื่อแก้ไขสายตายาวที่เป็นตามวัย

                           นอกจากนี้คอนแทคเลนส์ยังถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ทนทานต่างกันไปอีกหลายประเภทคือ
          1) คอนแทคเลนส์รายวัน คือ แบบนี้ต้องใส่ๆ ถอดๆและเปลี่ยนเป็นอันใหม่ทุกวัน 
          2) คอนแทคเลนส์รายสัปดาห์ คือ ใส่และถอดออกทุกวันและเปลี่ยนอันใหม่ทุก 1-2 สัปดาห์ 

        3) คอนแทคเลนส์รายเดือน คือ ใส่และถอดออกทุกวันและเปลี่ยนใหม่ทุก 1 เดือน
        4) คอนแทคเลนส์รายปี คือ ใส่และถอดออกทุกวันและเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุกปี ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ เนื่องจากการดูแลทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ค่อนข้างยุ่งยากและต้องเข้มงวดมาก
        5) คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ต่อเนื่องแบบนี้จะใส่ต่อเนื่องโดยไม่ต้องถอดออกเลยเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์จากนั้นถอดทิ้งแล้วเปลี่ยนอันใหม่ซึ่งไม่น่าจะใช้หากไม่จำเป็นจริงๆ เนื่องจากพบอัตราการติดเชื้อที่กระจกตาได้สูงกว่าการใช้แบบใส่และถอดออกบ่อยๆมาก