วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (C)



ภาษา C

                      
                                                  
                            


                 ภาษาซี (C Programming Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาครั้งแรกเพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix Operating System) แทนภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็ว แต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในการโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) จึงได้คิดค้นพัฒนาภาษาใหม่นี้ขึ้นมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 โดยการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละภาษาระดับสูงผนวกเข้ากับภาษาระดับต่ำ เรียกชื่อว่า ภาษาซี
                 เมื่อภาษาซี ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีผู้ผลิต Compiler ภาษาซีออกมาแข่งขันกันมากมาย ทำให้เริ่มมีการใส่ลูกเล่นต่างๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทาง American National Standard Institute (ANSI) จึงตั้งข้อกำหนดมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อคงมาตรฐานของภาษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี และตัวอย่าง

                โปรแกรมในภาษาซีทุกโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย
          1. Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ
          2. Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number
          3. Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้

ข้อดี

        - ภาษา  C ใช้ได้ในไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ขนาด 8 bit และ 32 bit มินิคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมมีการพัฒนาการใช้งานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน

ข้อเสีย

        - การเขียนโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันอาจทำได้หลายรูปแบบตัวดำเนินการบางตัวอาจทำให้สับสน

Credit :

http://guru.sanook.com/6394/

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 3 : Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย


Social Network

     



                   ที่มา : http://libeltyseo.com/wp-content/uploads/2013/03/social-networking.png




             เถียงไม่ได้เลยว่าคนในยุคสมัยนี้จะไม่ใช้ Social Network เพราะไม่ว่าวัยไหนก็ใช้กันซึ่งนำมาใช้ในการสื่อสารติดต่อกัน เช่น Facebook, Line, Twitter และอื่นๆอีกมากมาย
       
             ก่อนอื่นเรามารู้จัก Social Network กันก่อน  Social Network คือ สื่อหรือช่องทางในการติดต่อในลักษณะของการสื่อสารแบบสองทางผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อรูปแบบใหม่ (new media) ที่บุคคลทั่วไปสามารถนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเองออกสู่สาธารณะโดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารประเภทต่างๆ ในปัจจุบันมีแหล่งให้บริการเครือข่ายทางสังคมเกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก

             ในนักเรียน นักศึกษาอย่างพวกเราก็ได้นำ Social Network เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาเช่น การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆหรือคุณครู นำมาส่งงานได้ คุณครูก้สามารถสั่งงานได้เช่นกัน

             ในสังคมไทยในยุคนี้ก็มีได้ยอมรับการใช้ Social Network มากขึ้น การร่วมสังคมแต่ละครั้งบางทีอาจจะมีการใช้ Social Network อยู่มาก เช่น การแสดงความคิดเห็นในสาธารณะหรือเสนออะไรต่างๆ

             ซึ่ง Social Network ก็มีข้อดีอย่างเช่น แลกเปลี่ยนความสนใจที่มีเหมือนกันได้ สะดวกและรวดเร็ว สร้างสัมพันธ์ต่อผู้อื่น สร้างความคลายเครียด  แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่นำเอา Social Network มาใช้ในทางไม่ดี เช่น การแอบอ้างตัวตน หลอกลวง  ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 2 : เรื่องที่นักเรียนสนใจ

                 SMART-I คือการสอบวัดผลเพื่อเข้าศึกษาต่อที่คณะบัญชี-บริหาร ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า มธ. นั่นเอง โดยการสอบ SMART-I เป็นการสอบตรงที่แตกต่างจากหลายที่อยู่พอสมควรเพราะว่า SMART-I สามารถสอบได้ 7-9 รอบต่อปีเลย และคะแนนยังมีอายุถึง 2 ปีนับจากวันสอบ ซึ่งทำให้เราสามารถเริ่มสอบเก็บคะแนนไว้ตั้งแต่ ม.5 แล้วนำมาใช้ยื่นตอน ม.6 ก็ได้ถ้าคะแนนดีพอ โดยการจัดสอบจะมีทุกเดือนตั้งแต่ มีนาคม-พฤศจิกายน ยกเว้นตุลาคมแต่การยื่นของภาคไทยจะอยู่ที่เดือนกันยายนทำให้รอบเดือนพฤศจิกายนไม่สามารถนำมาใช้ได้แต่ก็ยังสามารถนำคะแนนของรอบพฤศจิกายนมายื่นของภาคอินเตอร์หรือ BBA ได้
      ตัวข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 4 วิชา คือ คณิตศาสตร์ การอ่าน ภาษาอังกฤษ และความรู้รอบตัว โดยที่แต่ละส่วนจะเต็ม 100 คะแนนแต่ว่าเมื่อนำไปคิดเป็นคะแนนโดยรวมแล้วแต่ละส่วนจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน โดยข้อสอบแต่ละส่วนจะมีน้ำหนักคะแนนและเนื้อหาข้อสอบดังนี้

1.คณิตศาสตร์

          วิชาคณิตศาสตร์ของ SMART-I ถือว่าไม่ยากเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับข้อสอบรับตรงคณิตศาสตร์ทั่วไป โดยเนื้อหาของ SMART-I ส่วนนี้จะเป็นเนื้อหาคณิตของ ม.3 ผสมกับ ม.5 เอามาประยุกต์ให้ซับซ้อนแล้วหลอกให้เรางง เนื้อหาโดยรวมจะเป็น การตั้งสมการ สถิติ ความน่าจะเป็น อนุกรม พื้นที่ การคิดคะแนน และปัญหาเชาว์ เป็นหลัก โดยมีจำนวนอยู่ที่ 30ข้อ : 1ชั่วโมง

2.การอ่าน

          เป็นวิชาที่ง่ายมากของ SMART-I ง่ายจนเรียกได้ว่าเหมือนแจกคะแนนให้คนทำฟรี ดังนั้นน้องๆส่วนใหญ่มักจะได้คะแนน 70+ กันเกือบทั้งหมด แต่ในช่วงหลังที่มีการปรับน้ำหนักคะแนนของวิชานี้ทำให้ความยากเพิ่มขึ้นมาจนไม่ถูกเรียกว่าเป็นวิชาแจกแต้ม โดยเนื้อหาจะไม่มีอะไรมาก มีข้อสอบจำนวน 30 ข้อ โดยจะมีข้อสอบแบบบทความมาให้ประมาณ 3 บทความโดยอาจจะเป็นบทความเรื่องการแพทย์ เศรษฐกิจ หรือความรู้รอบตัวก็แล้วแต่รอบ ซึ่งแต่ละบทความจะมีข้อสอบ 7-9 ข้อผสมกับข้อสอบอ่านแบบไม่ใช่เนื้อเรื่องยาวอีก 5-6ข้อ

3.ภาษาอังกฤษ

           ภาษาอังกฤษวิชาที่เรียกได้ว่าโหดหินสุดๆของการสอบ SMART-I โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ส่วนคือ
    1.Passage : คือข้อสอบการอ่านนั่นเอง จะมีบทความมาให้ครับแต่เป็นภาษาอังกฤษ เราก็แค่อ่านแล้วตอบคำถามไปคำถามไม่ค่อยมีหลอกซับซ้อน แต่คำศัพท์จะยากดังนั้นอ่านออกก็จะทำ Part นี้ได้ง่ายครับ
    2.Error : สำหรับ Part นี้จะเป็นการวัดทักษะการเขียน โดยตัวข้อสอบจะมีมาให้ 5 ข้อ แต่ละข้อจะขีดเส้นใต้ไว้ 5 จุดโดยเราต้องเลือกว่าจุดไหนไม่ถูกต้องถึงจะได้คะแนนไป ถ้า Grammar แข็งแรงก็จะผ่าน Part นี้ได้
    3.Complete Sentence : Part นี้เรียกง่ายๆก็คือ เติมคำลงในช่องว่างให้ถูก โดยจะเป็นการวัด Grammar โดยจะมีทั้งแบบเติมแกรมม่าให้ถูกและเติมคำเชื่อมประโยคเช่น Although, Despite ให้เข้ากับความหมายของประโยคนั้นๆ
   4.Vocabulary : คำศัพท์นั่นเอง จะมีช่องว่างให้เติมคำ เพียงแค่เลือกศัพท์ที่เหมาะสมกับประโยค เติมไปแล้วได้ความหมายที่สมบูรณ์เข้ากันได้ถูกต้อง
   5.Synnonym : สำหรับ Part นี้จะมีคำศัพท์ที่ขีดเส้นใต้ แล้วให้เราเลือกว่าข้อไหนที่มีความหมายเดียวกันกับคำศัพท์ที่ขีดเส้นใต้ ถ้าจำศัพท์ได้เยอะๆก็ผ่านไปได้

4.ความรู้รอบตัว

   Part นี้น้ำหนักน้อย คะแนนที่ได้จะไม่เกี่ยวกันมาก ชื่อก็บอกแล้วว่าความรู้รอบตัวดังนั้นเนื้อหาจะเป็นเนื้อหาจากทั่วโลก แต่ Part นี้ก็มักจะนำข่าวดังในก่อนเดือนสอบมาออกช่วย ถ้าตัวติดตามข่าวสารอยู่บ่อยๆจะสามารถทำคะแนนได้

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 1 : เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

Week 1 : เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

                      ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างมากทำให้ชีวิตของเราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย การใช้เทคโนโลยีอย่างเห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือ โทรศัพท์มือถือ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ เพราะส่วนมากก็จะใช้โทรศัพท์ในการสื่อสาร  โทรศัพท์สมัยนี้มีความสามารถมากกว่าโทรเข้าและโทรออก มีความบันเทิงหลายๆอย่าง อาทิเช่น ฟังเพลง เล่นเกมส์ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูทีวี ดูหนัง ถ่ายรูป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพกพาโทรศัพท์มือถือได้รับความนิยมกับทุกเพศและทุกวัย ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่

ข้อดีและข้อเสียของการใช้เทคโนโลยี

ข้อดี:
1. ลดเวลาในการทำงาน
2. ใช้ค้นหาความรู้ได้
3. ให้ความบันเทิง
4. สะดวกสบาย

ข้อเสีย:
1. ทำให้เกิดการเกียจคร้านได้
2. ทำให้เสียเวลา
3. ขาดการติดต่อกับคนรอบข้างหรือครอบครัว